วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 11 , Monday 30 November , 2558

Diary No. 11  วิชา : การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Subject : Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood.

Instructor : Trin Jamtin 

Monday, November 30, 2558 

Time 08.30 - 11.30 . 
STORY OF SUBJECT. (เนื้อหาที่สอน)

  • ศิลปะสร้างสรรค์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

   ควรแบ่งออกเป็น 4 ฐาน 3 ฐานแรกเป็นกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ที่ให้เด็กๆทำทุกวัน เช่น การพับ การตัดปะ การระบายสี
ฐานที่ 4 ควรเป็นกิจกรรมที่ครูคิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ซ้ำในแต่ละวันให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

การสอนในฐานที่ 4 (ในกิจกรรมที่คุณครูคิดขึ้นมาเอง)
ขั้นนำ

- แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง ได้แก่ สีเทียน รูปตาราง รูปผีเสื้อ กระดาษ
สนทนาและบอกเด็กว่าจะทำอะไร โดยมีเงื่อนไข เช่น ให้เด็กวาดรูปในแต่ละช่องให้ครบโดยที่รูปแต่ละรูปไม่ซ้ำกัน (ในตาราง 9 ช่อง )ในบล็อคก่อนหน้านี้ 

  

 

ขั้นสอน-ครูบอกหรือสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
-ให้เด็กลงมือทำด้วยด้วยตนเอง

ขั้นสรุป
-ให้เด็กนำเสนอผลงานพร้อมโชว์ผลงานของเด็ก



และก็ยังยกตัวอย่าภาพสร้างสรรค์จากศิลปะอีกด้วย










    วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนการสอนในเทอมนี้ อาจารย์ได้แจกรางวัลเด็กดีกับเพื่อนๆที่มีคะแนนตัวปั๊มเยอะที่สุด  หนูได้รางวัลชมเชยค่ะ เป็นที่คั่นหนังสือน่ารักๆ เป็นครั้งแรกที่ได้ หนูสัญญาครั้งหน้าหนูต้องได้รางวัลเด็กดีแบบนี้อีกให้ได้ค่ะ




Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

  • การทำงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์
  • การสรุปผลในกิจกรรมการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์

Application. ( การนำไปใช้)

  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองได้และเป็นกิจกรรมที่ไม่ยากจนเกินไป สามารถปรับลดความยากง่ายได้ตามช่วงอายุ

Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อากาศเย็นสบายดี  สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาดเรียบร้อย


Technical Education. (เทคนิคการสอน)
  • มีการเสริมแรงให้นักศึกษาเป็นระยะ
  • มี EYE CONTACT กับนักศึกษา
  • พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน
  • มีการกระตุ้นผู้เรียนให้มาเรียนไว ด้วยการแจกดาวเด็กดี


Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถามมาเรียนตรงเวลา

Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี



Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
  • อาจารย์ให้เทคนิคในการจัดกิจกรรมได้ดี ทั้งยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต และมีการฝึกให้นักศึกษาเกิดความรู้และคิดด้วยตนเอง หนูเป็นคนที่ไม่ชอบวิชาศิลปะเลย เพราะเรียนสาย วิทย์-คณิตมา ได้ใช้ศิลปะน้อยมากๆ ก็มีอาจารย์คอยช่วยกระตุ้นให้หนูได้คิด ฝึกใช้จินตนาการมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีกับศิลปะมากขึ้น ทำให้หนูอยากเรียนศิลปะกับอาจารย์เบียร์อีกครั้ง




วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 10 , Monday 16 November , 2558

Diary No. 10  วิชา : การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Subject : Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood.

Instructor : Trin Jamtin 

Monday, November 16, 2558 

Time 08.30 - 11.30 . 


STORY OF SUBJECT. (เนื้อหาที่สอน)

  • ศิลปะสร้างสรรค์
  • การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

    ศิลปะสร้างสรรค์  ความหมาย  เป็นเครื่องมือที่ให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ความต้องการ ความคิดผ่านผลงาน เช่น การวาด การปั้น การฉีก การปะ การพับ การตัด การประดิษฐ์
ความสำคัญและประโยชน์ของศิลปะสร้างสรรค์-เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิด ความสามารถ
-ตอบสนองธรรมชาติและความต้องการของเด็ก
-บำบัดอารมณ์
-ฝึกทักษะการทำงานของอวัยวะต่างๆ
-แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก
พัฒนาการทางศิลปะของ Lowenfeld and Britain
 1. ขั้นขีดเขียน   ช่วงอายุ 2-4 ปี (ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา)


2.ขั้นก่อนมีแบบแผน   ช่วงอายุ 4-7 ปี (ภาพมีความสัมพันธ์กับความจริง)

 3.ขั้นใช้สัญลักษณ์  ช่วงอายุ 7-9 ปี (คล้ายของจริง)
หลักการจัดประสบการณ์ศิลปะ
  • กระบวณการสำคัญกว่าผลงาน
  • หลีกเลี่ยงการวาดภาพตามแบบ การระบายสีจากสมุดภาพ
  • ชื่นชม
  • เตรียมอุปกรณ์
  • ศิลปะสำคัญเช่นเดียวกับการเขียนอ่าน

หลีกเลี่ยงคำถาม ว่า เด็ดกำลังทำอะไร หรือ เดาสิ่งที่เด็กกำลังทำ



                    **เพราะถ้าเราเดาว่า หนูกำลัลวาด ปลาฉลามใช่มั้ยลูก เด็กก็อาจจะวาดปลาฉลาม ในทันที ทั้งๆที่ตอนแรกเด็กอาจจะไม่ได้วาดปลาฉลามก็ได้



ศิลปะ เน้น การ สาธิตให้เด็กดู


กิจกรรมศิลปะ
  • กิจกรรมสี
  • การปั้น
  • การตัดปะ
  • การพับ
  • การประดิษฐ์


การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

   ควรแบ่งออกเป็น 4 ฐาน 3 ฐานแรกเป็นกิจกรรมศิลปะพื้นฐาน ที่ให้เด็กๆทำทุกวัน เช่น การพับ การตัดปะ การระบายสี
ฐานที่ 4 ควรเป็นกิจกรรมที่ครูคิดขึ้นมาใหม่โดยไม่ซ้ำในแต่ละวันให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

การสอนในฐานที่ 4 (ในกิจกรรมที่คุณครูคิดขึ้นมาเอง)
ขั้นนำ

- แนะนำอุปกรณ์ว่ามีอะไรบ้าง ได้แก่ สีเทียน รูปตาราง รูปผีเสื้อ กระดาษ
สนทนาและบอกเด็กว่าจะทำอะไร โดยมีเงื่อนไข เช่น ให้เด็กวาดรูปในแต่ละช่องให้ครบโดยที่รูปแต่ละรูปไม่ซ้ำกัน (ในตาราง 9 ช่อง )
 
ตาราง 9 ช่อง


ภาพที่คุณครูสุ่มแจกตามเลขที่


วาดรูปลงในตาราง ทั้ง 9 ช่อง (ผลงานนักศึกษา)






วาดภาพที่อยู่ในตาราง 9 ช่องลงในแผ่นภาพใหญ่อีกที ( ผลงานนักศึกษา)



ขั้นสอน-ครูบอกหรือสาธิตวิธีการทำให้เด็กดู
-ให้เด็กลงมือทำด้วยด้วยตนเอง
ขั้นสรุป
-ให้เด็กนำเสนอผลงานพร้อมโชว์ผลงานของเด็ก






กิจกรรม

1.กิจกรรมร้านขนมหวาน เป็นกิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน เกี่ยวกับเรื่องความรักและการที่เราอยากจะดูแลใครสักคน เพื่อสื่อถึงการมอบความรักให้กับผู้อื่น






Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

  • การทำงานศิลปะอย่างสร้างสรรค์

Application. ( การนำไปใช้)
  • จัดกิจกรรมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ให้เด็กสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเองได้และเป็นกิจกรรมที่ไม่ยากจนเกินไป


Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
  • อากาศเย็นสบายดี  สื่อเทคโนโลยีใช้งานได้ดีิ ห้องสะอาด 


Technical Education. (เทคนิคการสอน)
  • มีการเสริมแรงให้นักศึกษาเป็นระยะ
  • มี EYE CONTACT กับนักศึกษา
  • พูดด้วยน้ำเสียงหลายโทน เป็นเทคนิคการ เร้าความสนใจของผู้เรียน


Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตอบคำถาม

Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)
  • เพื่อนตั้งใจเรียน และตอบคำถามได้ดี



Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)

  • อาจารย์ให้เทคนิคในการจัดกิจกรรมได้ดี ทั้งยังมีการยกตัวอย่างกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปใช้ได้ในอนาคต และมีการฝึกให้นักศึกษาเกิดความรู้และคิดด้วยตนเอง หนูเป็นคนที่ไม่ชอบวิชาศิลปะเลย อาจารย์คอยช่วยกระตุ้นให้หนูได้คิด ฝึกใช้จินตนาการมากขึ้น มีทัศนคติที่ดีกับศิลปะมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 9 , Monday 9 November , 2558


Diary No. 9 วิชา : การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Subject : Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood.

Instructor : Trin Jamtin

Monday, November 9, 2558 
Time 08.30 - 11.30 . 


STORY OF SUBJECT. (เนื้อหาที่สอน)
-การสอบเขียนกระดาน (แต่งนิทานของแต่ละกลุ่ม)

-การสอนเคลื่อนไหวและจังหวะที่ฝึกความคิดสร้างสรรค์ 


Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

เทคนิคการเขียนกระดาน 

-เอียงตัวโดยหันหน้าเข้าเด็กประมาณ 45 องศา 
-เขียนปากกาที่มีสีชัดเจนมองเห็นง่าย ใช้ปากกาสีแดงเน้น คำที่สำคัญ ในเรื่องที่สอน  เช่น เรื่อง กระต่าย กเมื่อมีคำว่ากระต่ายในประโยค ก็ ให้เน้นคำว่า  กระต่าย ในประโยคนั้น
-ในการสอนควรใช้คำถาม 5W1H ( ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ทำไม  อย่างไร ) 
-เมื่อเขียนเสร็จครูอ่านให้เด็กฟัง พร้อมชี้กระดานด้วย 


กิจกรรม 


1.สอบเขียนกระดาน

อุปกรณ์ 
-ปากกาไวท์บอร์ท (สีน้ำเงินหรือดำ และ สีแดง สำหรับเน้นคำสำคัญ) 
-กระดาษบรูฟ 

กลุ่มดิฉัน












กลุ่มเพื่อน ในชั้นเรียน
เรื่อง  ผักดีมีประโยชน์








เรื่องโรงเรียนของฉัน






2.การสอนเคลื่อนไหวและจังหวะที่ฝึกความคิดสร้างสรรค์
มี ขั้นตอนดังนี้













-การสอนเคลื่อนไหวพื้นฐาน 
-การสอนเคลื่อนไหวสัมพันธ์ 
-การสอนเคลื่อนไหวผ่อนคลาย 

ตัวอย่างการสอน หน่วย อาหาร  (อาจารย์เป็นคนสอน)
 การสอนเคลื่อนไหวพื้นฐาน 

1.ให้เด็กหาพื้นที่และบริเวณส่วนตัว 

การสอนเคลื่อนไหวสัมพันธ์ 

2.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มสองคนแปลงร่างเป็น ช้อนและส้อม 

3.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มสี่คนแปลงร่างเป็น ข้าวไข่เจียว 

4.ให้เด็กเดินตามจังหวะแล้วจับกลุ่มแปดคนแปลงร่างเป็น ชามใส่ก๊วยเตี๋ยว 
การสอนเคลื่อนไหวผ่อนคลาย 

5.ให้เด็กผ่อนคลายร่างกาย


สรุป   การสอนเคลื่อนไหวที่จะส่งเสริมให้เด็กมีจนตนาการและความคิดสร้า
สรรค์นั้น   ครูสามารถทำได้โดยการฝึกให้เด็กได้แสดงท่าทางหรือการเคลื่อนไหวร่างกายตามความคิดและจินตนาการของเด็กเอง ไม่ตีกรอบให้เด็กว่า ต้องทำแบบนี้นะ  ทำท่านี้นะ ถ้าเราไปตีกรอบให้เด็ก ก็จะทำให้เด็กไม่กล้าแสดงความคิดของตนเอง และเด็กก็จะไม่มีความคิดสร้างสรรค์ในที่สุด 



 Assessment.


Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

  • วิธีการเขียนกระดานที่ถูกต้อง 
  • การฝึกสอนเคลื่อนไหว 
  • การฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก


Application. ( การนำไปใช้)

  • เมื่อเรามีการฝึกฝนเขียนกระดานบ่อยๆ ก็จะส่งผลให้เรามีความคล่องแคล่วและชำนาญในการเขียนกระดานมากขึ้น 
  • การสร้างให้เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ครูผู้สอนไม่ควรตีกรอบให้กับเด็ก ควรปล่อยให้เด็กทำและแสดงออกอย่างอิสระ 





Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)

  •  สนุกสนานและตื่นเต้นไปกับการสอบเขียนกระดาน 







Technical Education. (เทคนิคการสอน)

  • ให้นักศึกษาได้แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
  • แนะแนว และ บอกวิธีการเขียนกระดานที่ถูกต้อง
  • ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง



Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเขียนกระดาน 




Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)

  •  เพื่อนให้ความร่วมมือดี แต่จะมีคุยกันบ้างเล็กน้อยเพราะอาจจะตื่นเต้นกับการเขียนกระดาน เลยปรึกษาหารือกับเพื่อนรอบข้าง 


Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)
  • ให้แรงเสริมแก่นักศึกษาดี 
  • ไม่ดุหรือว่านักศึกษา ขณะที่สอบ ฝึกให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง 
  • เวลานักศึกษามีข้อผิดพลาดอาจารย์ก็จะชี้แนะ เดินดูตามกลุ่ม ชี้แนะเป็นรายบุคคล เช่น ตัว ส หนูลองเขียนใหม่อีกรอบดูซิ เขียนให้หัวกลมกว่านี้หน่อย และลากหางยาวอีกนิด จะดูสวยนะ

Diary No. 8 , Monday 2 November , 2558

Diary No. 8  วิชา : การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

Subject : Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood.

Instructor : Trin Jamtin 


Monday, November 2, 2558 

Time 08.30 - 12.30 .






STORY OF SUBJECT. (เนื้อหาที่สอน)

1. ทบทวนเพลงและร้องเพลง
   เพลงที่ 1 :  Twinkle, twinkle, little star






Twinkle, Twinkle Little Star
(Lyrics)
Twinkle, twinkle, little star
How I wonder what you are
Up above the world so high
Like a diamond in the sky

Twinkle, twinkle little star
How I wonder what you are

When the blazing sun is gone
When he nothing shines upon

Then you show your little light
Twinkle, twinkle, all the night

Twinkle, twinkle, little star
How I wonder what you are

In the dark blue sky to deep
Through my curtains often peep

For you never close your eyes
Till the morning sun does rise.



Twinkle, twinkle, little star

How I wonder what you are

  เพลงที่ 2 :  
Where is Thumbkin ?


Where is Thumbkin?

Where is Thumbkin?
Where is Thumbkin?
Here I am!
Here I am!


*
How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run away. 
Run away.

Where is Pointer?
Where is Pointer?
Here I am!
Here I am! (*)


Where is Middleman?
Where is Middleman?
Here I am!
Here I am!
(*)

How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run away. 
Run away.

Where is Ringman?
Where is Ringman?
Here I am!
Here I am!

How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run away. 
Run away.

Where is Pinkie?
Where is Pinkie?
Here I am!
Here I am!

How are you today, sir?
Very well, I thank you.
Run away. 
Run away.




2. การฝึกเขียนกระดาน
b อาจารย์สาธิตวิธีฝึกเขียนกระดาน  และให้นักศึกษาจับกลุ่มเขียนกระดาน








Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)


 การฝึกเขียนกระดานบ่อยๆนั้นมีความสำคัญกับตัวผู้ฝึกเอง เพราะจะเป็นการฝึกฝนตัวเอง การเขียนกระดานนั้นควรจะมีตัวอักษรที่ถูกต้องสวยงามเพราะเด็กๆจะดูลักษณะการเขียนของครู เด็กจะซึมซับบุคลิกลักษณะที่เป็นครู แม้แต่กระทั่งการเขียนกระดานของครู




กิจกรรม 

1.ฝึกเขียนกระดาน โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม และสลับกันเขียน 


เทคนิค คือ  นั่งเอียง 45 องศา ถ้าครั้งแรกเราเขียนข้างบนสุดของกระดาษ ในครั้งต่อไปเราจะต้องสลับกับเพื่อนให้เพื่อนเขียนข้างบนแทน เพื่อให้เราได้ฝึกเขียนตรงตำแหน่งอื่นๆของกระดาษ การฝึกเขียนกระดานบ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญ ตัวหนังสือจะสวยและอ่านง่ายขึ้น ต้องบังคับมือให้ได้ ไม่ให้เขียนเอียง หรือเฉียงขึ้น เฉลียงลงเด็ดขาด

อุปกรณ์ 

-ปากกาไวท์บอร์ท
-กระดาษบรูฟ
-เทปกาว







   Assessment.

Skills. (ทักษะที่ได้รับ)

การเขียนกระดานที่ถูกวิธี โดยเฉพาะเรื่องของตัวอักษรที่ถูกต้องสวยงาม

Application. ( การนำไปใช้)

  • เมื่อเราฝึกฝนบ่อยๆ เราก็จะสามารถเขียนตัวอักษรบนกระดานได้อย่างคล่องแคล่วและถูกต้อง เป็นการฝึกก่อนที่จะได้ใช้จริงในการสอนในอนาคต  และทำให้เราได้รู้จดบกพร่องของตนเอง ว่ายังเขียน พยัญชนะใดไม่สวย จะได้ฝึกเขียนให้สวย


Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)

  • อากาศเย็น แสงสว่างเพียงพอ และสนุกสนานกับการฝึกเขียนกระดาน


Technical Education. (เทคนิคการสอน)
  • ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
  • มีการให้แรงเสริม (คำชมเชย)กับนักศึกษา
  • เทคนิคการเขียนกระดาน


Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)
  • แต่งตัวเรียบร้อย และตั้งใจฝึกเขียนกระดาน เพราะยังเขียนได้ไม่ดีเท่าที่ควร แต่พออาจารย์ให้ฝึกเขียน ก็ได้รับคำชมจากอาจารย์ ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่ง

Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนตั้งใจเขียนกระดานและเขียนได้สวยงาม ทำให้ได้เห็นถึงความพยายามฝึกเขียนกระดานของเพื่อนๆ


Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)

  • อาจารย์ให้แรงเสริมกับนักศึกษาให้กำลังใจ ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง และกระตุ้นให้นักศึกษาได้มีความกระตือรือร้นที่จะฝึกเขียนได้ดีมาก ทั้งยังบอกถึงเทคนิคดีๆในการฝึกเขียนกระดาน และชี้แนะเป็นรายกลุ่ม และพูดคุยเป็นรายบุคคล  เช่น ถามว่า ประโยคนั้น คำนั้น ใครเขียน ใช้ได้นะ หัวกลม ตัวเหลี่ยม เขีบนสวยใช่ได้ เป็นต้น