วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No. 3 , Monday 7 September , 2558

Diary No. 3 วิชา : การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood





Instructor : Trin Jamtin.





Monday, September 7, 2558

Time 08.30 - 12.30 .


STORY OF SUBJECT. (เนื้อหาที่สอน)
การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ปฐมวัย

Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ )
  • การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ปฐมวัย

         "ความคิดสร้างสรรค์ไม่สามารถบังคับให้เกิดขึ้นได้  แต่สามารถส่งเสริมให้เกิดขึ้นได้"

แนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์
  แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford ได้กล่าวว่า มี 3 มิติ คือ
- มิติเนื้อหา (ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด) ได้เเก่ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา พฤติกรรม
- มิติวิธีคิด (กระบวนการทำงานของสมอง)ได้แก่ การรู้และเข้าใจ การจำ การคิดเเบบอเนกนัย การคิดแบบเอกนัย การประเมินค่า
- มิติผลของการคิด (การตอบสนองต่อข้อมูล หรือสิ่งเร้า )ผลของการคิด ได้เเก่ หน่วย ระบบ จำพวก การแปลงรุป ความสัมพันธ์ การประยุกต์


  ทฤษฎี Constructivism = เด็กเรียนรู้เอง เด็กคิดเอง ครูกับเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน สร้างองค์ควาทรู้ใหม่ด้วยตนเอง

ทฤษฎีของ Torrance = ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกต่อปัญหา เเล้วรวบรวบความคิดตั้งเป็นสมมติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้จากการทดสอบ

 ขั้นที่ 1 การพบความจริง
 ขั้นที่2 การค้นพบปัญหา
 ขั้นที่3 การตั้งสมมุติฐาน
 ขั้นที่4 การค้นพบคำตอบ


บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

  • เด็กปลอดภัย ให้เด็กได้เล่นคนเดียว ขจัดอุปสรรค.
  ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
  • มีไหวพริบ อารมณ์ขัน มีสมาธิ รักอิสระ 
กิจกรรมที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เเบ่งเป็น 3 ลักษณะ
    1. ลักษณะที่ 1 ความไม่สมบูรณ์ การเปิดกว้าง
    2. ลักษณะที่ 2 การสร้างบางอย่างขึ้นมา
   3. ลักษณะที่3 การใช้คำถามเด็ก
คำถามที่ส่งเสริมความคิดคล่องแคล่ว
  • คิดให้ได้มากที่สุด
  • คิดหรือทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคิดหรือทำมาก่อน
  •  ได้คำตอบที่หลากหลาย
  • คิดให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ


เเนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของ Torrance
ส่งเสริมให้เด็กถาม เอาใจใส่ความคิดเด็ก ยอมรับคำถามของเด็ก ชี้เเนะให้เด็กหาคำตอบด้วยตนเอง

การตั้งคำถาม 5W1H
 Who = ใคร คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง
What =  ทำอะไร คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง
Where =  ที่ไหน คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน
When =  เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด
Why = ทำไม คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ
How  = อย่างไร คือ สิ่งที่เด็กต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง




กิจกรรม
1.กิจกรรมระหว่างเรียน คุณครูให้ทำกิจกรรมไร่สตอเบอรี่โดยเป็นคำถามเชิงจิตวิทยาเพื่อให้นักศึกษารู้ความเป็นตัวตนภายในตนเอง เพื่อให้เป็นการให้นักศึกษาตื่นตัวในการเรียน




2.กิจกรรมศิลปะจากธรรมชาติ ให้นักศึกษาวาดภาพจากสีที่ได้จากธรรมชาติ โดยนำเศษวัสดุที่เอาสีจากดอกไม้มาวาดรูปภาพตามจินตนาการเเล้วออกมาบรรยายภาพว่าได้ภาพนี้ได้สีธรรมชาติจากสิ่งที่นำมามีเป็นอะไรบ้างโดยตัวหลักของผลงานนี้คือ การเอาดินมาผสมน้ำให้เกิดเป็นภาพวาด





3.ร้องเพลงและทบทวนเพลง


London Bridge is falling down




Assessment.

Skill (ทักษะที่ได้รับ)
  • ได้ร่วมการคิดวิเคราะห์ในการตอบคำถามจากคุณครูร่วมกับผู้อื่น
Application. ( การนำไปใช้)
  • ใช้ในการบูรณาการการเรียนรู้ของเด็กชั้นปฐมวัยได้การสร้างศิลปะให้เด็กได้ใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ศิลปะโดยนำสิ่งธรรมชาติสร้างเป็นภาพวาดที่สวยงามตามจินตนาการ
Classroom Atmosphere. (บรรยากาศในห้องเรียน)
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตั้งใจฟังคุณครูดีมาก บรรยากาศค่อนข้างเย็น


Technical Education. (เทคนิคการสอน)

  • ให้อิสระในการคิดแก่นักศึกษา
  • อาจารย์มีเทคนิคการเสริมกำลังให้กับนักศึกษา เช่น กล่าวชมเชย และการยิ้มแย้มกับนักศึกษา

Self-Assessment. (ประเมินตนเอง)



  • แต่งกายเรียบร้อย

Friend-Assessment. (ประเมินเพื่อน)

  • เพื่อนให้ความร่วมมือในการตอบคำถามทุกคนและสนุกกับการทำกิจกรรม


Teacher-Assessment. (ประเมินอาจารย์)

  • เเต่งกายสุภาพเรียบร้อยสอนเข้าใจ มาก่อนเวลาสอน สอนน่ารัก
  • เตรียมสื่อการสอนและอุปกรณ์มาพร้อมมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น